โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ประวัติ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

       โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๑๕๙ หมู่ที่ ๖ ตําบล โพนสูง อําเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เริ่มต้นจากที่ คุณสุกัญญา ตรีสวัสดิ์ ปรารภต่อคณะสงฆ์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่จะทํานุบํารุงพระพุทธศาสนาและได้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดิน จํานวน ๓๘ ไร่ ๓ งาน ๕๕ ตารางวา ให้กับมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เพื่อก่อตั้งเป็นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นสถานที่ศึกษาเล่า เรียนของกุลบุตรพุทธศาสนทายาทสืบไป โดยมีประวัติความเป็นมาดังนี้

ดร.สุกัญญา ตรีสวัสดิ์ ผู้อุปถัมภ์ ถวายที่ดินจำนวน ๔๗ ไร่ โครงการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

        เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ คุณสุกัญญา ตรีสวัสดิ์ ได้นิมนต์พระมหาเถระผู้มีบทบาทด้านการปกครองและด้านการศึกษา ทั้งจากส่วนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง และวิทยาเขตในภูมิภาค ทั้งส่วนกองทุนศาสนทายาท วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก และส่วนพระเถรานุเถระ กรรมการคณะสงฆ์ธรรมยุตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๙ จังหวัด มี พระมหาเถระ เช่น พระธรรมฐิติญาณ (ปัจจุบัน: พระพรหมวชิรโสภณ) พระธรรมบัณฑิต วัด พระราม ๙ กาญจนาภิเษก พระธรรมดิลก วัดป่าแสงอรุณ (เจ้าคณะภาค ๙ ขณะนั้น) พระเทพปริยัติวิมล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พร้อมผู้บริหารมหาวิทยาลัย เป็นต้น เดินทางมาประชุมที่สวนลีลาวดีรีสอร์ท อําเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และในการประชุมนี้ คุณสุกัญญา ตรีสวัสดิ์ ได้ประกาศบริจาคที่ดินมอบให้มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยมี พระเทพปริยัติวิมล (แสวง ธมเมสโก) อธิการบดี ในขณะนั้น เป็นผู้รับมอบที่ดินท่ามกลางคณะสงฆ์หมู่ใหญ่ร่วมอนุโมทนาเป็นสักขีพยาน

       การที่คุณสุกัญญา ตรีสวัสดิ์ ได้มีศรัทธาถวายที่ดินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็น สถานที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณรและเยาวชนและเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติการสอน ฝึกอบรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อสืบต่อพุทธศาสนทายาทสืบไปเนื่องด้วยที่ดินที่ถวายนั้นเป็นที่ดินว่างเปล่ายังไม่มีสิ่งก่อสร้างใด ๆ และด้วยที่ดินแปลงดังกล่าว ติดกับสวนลีลาวดีรีสอร์ทของคุณสุกัญญา ตรีสวัสดิ์ เอง ท่านจึงได้ปิดกิจการสวนลีลาวดีรีสอร์ท เพื่อมอบให้ใช้เป็นสถานที่พักอาศัยและสถานที่เรียนหนังสือของพระภิกษุสามเณรไปก่อนตลอด ๕ ปี ดังนั้น วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ จึงเป็นวันแห่งจุดเริ่มต้นของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

       หลังจากนั้น คณะทํางานในช่วง เริ่มแรกซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดย พระมหาปัญญา ปญญาวุฑโฒ รศ. รองอธิการบดี ฝ่ายบริหาร ซึ่งได้รับมอบหมายจาก อธิการบดี กองทุนศาสนทายาทวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก โดย พระศรีญาณโสภณ ป.ธ.๙ ซึ่งได้รับมอบหมายจาก พระธรรมบัณฑิต และ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น โดย พระมหาสาคร ชิตงกโร รองอธิการบดี และคณะผู้บริหารจาก มมร.วิทยาเขตอีสาน ซึ่งได้รับมอบหมาย จากอธิการบดี และจากพระเถระกรรมการคณะสงฆ์ธรรมยุตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๙ จังหวัด ได้ร่วมกันดําเนินการประสานกับโรงเรียนศรีจันทร์วิทยา วัดศรีสุทธาวาส เพื่อเป็นห้องเรียนและให้มีการจัดการเรียนการสอนขึ้นก่อนในสถานที่ที่ได้รับมอบให้ใช้ในเวลานั้น (สวนลีลาวดีรีสอร์ท)

        เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนเมษายน ปี ๒๕๕๒ คณะผู้ดําเนินการ โดยกองทุนศาสนทายาท วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย รับผิดชอบโดย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น ได้เริ่มประกาศรับสมัคร เยาวชนผู้ที่จะบรรพชาศึกษาต่อและได้ออกประชาสัมพันธ์หาเยาวชนเพื่อศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และศึกษานักธรรมและบาลี จนกระทั่งได้เยาวชนสมัครเข้าบรรพชาศึกษาเล่าเรียน จํานวน ๖๐ คน (เป็นห้องเรียนของโรงเรียนศรีจันทร์วิทยา วัดศรีสุทธาวาส พระอารามหลวง) และต่อมาเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ได้จัดพิธีบรรพชาสามเณร รุ่นที่ ๑ จํานวน ๖๐ รูป ณ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

       เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ พระธรรมฐิติญาณ (ปัจจุบัน : พระพรหมวชิโสภณ) พระธรรมบัณฑิต พระธรรมดิลก (สมาน สุเมโธ ป.ธ.๙) เจ้าคณะภาค ๙ (ธ) ในขณะนั้น และพระมหาเถระในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจํานวนมาก ได้เดินทางมาร่วมกันเป็นสักขีพยานการเปิด อาคารเรียนชั่วคราวที่คุณสุกัญญา ตรีสวัสดิ์ ได้สร้างถวาย พร้อมทั้งร่วมพิธีปฐมนิเทศสามเณร นักเรียนใหม่ รุ่นที่ ๑ (ห้องเรียนโรงเรียนศรีจันทร์วิทยา) ณ สวนลีลาวดีรีสอร์ท โดยเปิดการเรียนการ สอนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และศึกษาแผนกธรรม-บาลี มี สามเณรนักเรียนรุ่นแรก จํานวน ๖๐ รูป

 สามเณรเข้าแถวก่อนเข้าเรียนที่อาคารเรียนหลังเก่า

       เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. คุณสุกัญญา ตรีสวัสดิ์ ได้เข้าพบพระเทพปริยัติวิมล (แสวง ธมุเมสโก) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ณ สํานักงานอธิการบดี มมร ศาลายา) และได้ถวายโฉนดที่ดินทั้งหมด จํานวน ๓๔ ไร่ ๓ งาน ๕๕ ตารางวา เพื่อให้มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ดําเนินการตามแผนและนโยบายของ มหาวิทยาลัยตามที่ได้ประกาศถวายไว้ในวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ในระยะเริ่มแรกคุณสุ กัญญา ตรีสวัสดิ์ ผู้บริจาคที่ดินและผู้อุปถัมภ์ ได้รับภาระถวายการอุปถัมภ์ทั้งด้านอาคารสถานที่ พักอาศัย อาคารสถานที่ศึกษาเล่าเรียน ทั้งด้านการจัดภัตตาหารถวายพระภิกษุสามเณรทุกวัน โดยใช้งบประมาณส่วนตัว และทั้งได้รับการสนับสนุนส่งเสริมด้านอื่น ๆ จากกองทุนศาสนทายาท วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และผู้มีจิตศรัทธา

       หลังจากนั้น พระเทพปริยัติวิมล (แสวง ธมุเมสโก) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้มอบหมายให้พระมหาปัญญา ปญญาวุฑโฒ รศ. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร (ในขณะ นั้น) และพระมหาสาคร ซิตงกโร (ปัจจุบัน : พระครูสุธิจริยวัฒน์ ผศ.ดร.) รองอธิการบดี มมร. วิทยาเขตอีสาน ได้ดําเนินการวางแผน “โครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย” ขึ้น และให้ขับเคลื่อนไปอย่างต่อเนื่อง โดยระยะเริ่มแรกนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ ดําเนินการทําเรื่องการขออนุมัติส่วนงานโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และวางแผนเขียนแบบของบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนและหอพักและขอรับบริจาคสร้างอาคารหอฉัน

อาคารเรียนขณะกำลังก่อสร้าง

       ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ - ปี พ.ศ.๒๕๕๔ การบรรพชา สามเณรเพื่อเข้าศึกษาที่โรงเรียน สาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราช วิทยาลัย ได้จัดพิธีบรรพชา สามเณรที่วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร โดยการอุปถัมภ์งบประมาณจากกองทุนศาสนทายาท โดย พระธรรมบัณฑิต พระศรีญาณโสภณ (ปัจจุบัน : พระราชญาณกวี) และคุณสุกัญญา ตรีสวัสดิ์ ทั้งในระยะ ปี พ.ศ.๒๕๕๒ - ๒๕๕๔ นี้ ด้านการจัดการเรียนการสอนนั้นมีพระศรีญาณโสภณ เป็นผู้บริหารและผู้ดําเนินการหลัก มีพระครูปลัดธรรมจริยวัฒน์ (ปัจจุบัน : พระครูสุธีจริยวัฒน์ ผศ.ดร.) ร่วมเป็นผู้บริหารและประสานดําเนินการด้านมหาวิทยาลัย หลังจากนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ปี พ.ศ.๒๕๕๗ การบรรพชาสามเณร ได้ย้ายไปจัดที่วัดป่าแสงอรุณ อําเภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น โดย มีพระธรรมดิลก (สมาน สุเมโธ ป.ธ.๔๕) เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยมีพระธรรมดิลก และคุณสุกัญญา ตรีสวัสดิ์ เป็นผู้อุปถัมภ์ในพิธีบรรพชามาโดยตลอด และมหาวิทยาลัยมหามกุฏ ราชวิทยาลัย โดยอธิการบดี ก็ได้มอบหมายให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ได้ดูแลดําเนินการจัดการเรียนการสอนและกิจการในโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตฯ

       ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๓ เป็นต้นมา ประมาณ ๓ - ๔ ปี ช่วงปิดภาคการศึกษาทุกปี พระมหา สาคร ชิตงกโร รองอธิการบดี มมร.วิทยาเขตอีสาน และพระมหาสมัย ผาสุโก ผอ.ศูนย์บริการ วิชาการ มมร.วิทยาเขตอีสาน จะนําสามเณรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ออกเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมที่ป่าเขตอําเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ในป่าเขตอําเภอน้ําหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น โดยมีพระครูวินัยธร เชาวน์พิทย์ สุธีโร เป็นอาจารย์ฝึกปฏิบัติและใน ระยะหลังได้เปลี่ยนสถานที่ให้เดินธุดงค์ในเขตป่าเขตอําเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอําเภอนคร ไทย จังหวัดพิษณุโลก โดย มีคุณสุกัญญา ตรีสวัสดิ์ เป็นผู้อุปถัมภ์ดูแลตลอดการปฏิบัติ

พระมหาสาคร ชิตงฺกโร พาสามเณรออกเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรม

       วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ สมเด็จพระวันรัต เดินทางไปประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนและหอพักพระภิกษุสามเณร จากงบประมาณแผ่นดิน และประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์หอฉัน จากงบประมาณบริจาคของธนาคารออมสิน โดยมีพระเถระและประชาชนร่วมในพิธีจํานวนมาก

วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ สมเด็จพระวันรัต เดินทางไปประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนและหอพักพระภิกษุสามเณร

        เมื่อวันอังคารที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๕ สภาวิชาการมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้มีมติการประชุมสภาวิชาการ ครั้งที่ ๔/๒๕๕๕ มติที่ ๔๗/๒๕๕๕ เรื่อง พิจารณาโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดําเนินการโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยเห็นชอบให้จัดเป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และให้นําเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาอนุมัติ เพื่อนําเสนอสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยมีรายละเอียดสําคัญในการนําเสนอสภามหาวิทยาลัย ดังนี้ 

       “ด้วยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กองทุนศาสนทายาท วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกและกรรมการบริหารคณะสงฆ์ธรรมยุตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๙ จังหวัด ได้มีโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ขึ้นที่ สวนลีลาวดี ตําบลโพนสูง อําเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสถานที่ ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร และเยาวชน และเป็นสถานที่ฝึก ปฏิบัติการสอนฝึกอบรมนักศึกษาของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยได้เริ่มจัดการศึกษามาตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒ เป็นต้นมา ทั้งนี้ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ดําเนินการมาตามลําดับ ดังนี้

        ๑. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ดําเนินการเรื่องการจัดการเรียนการสอน โดยให้เปิดการเรียนการสอนเป็นห้องเรียนของโรงเรียนศรีจันทร์วิทยา วัดศรีสุทธาวาส จังหวัดเลย โดยใช้หลักสูตรโรงเรียนพระปริยัติธรรม 

        ๒. ได้รับการบริจาคที่ดินเบื้องต้นเพื่อเป็นที่ดําเนินการโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จํานวน ๓๘ ไร่เศษ 

       ๓. การบริหารการเงินต่างๆ เช่น ด้านเงินเดือนผู้สอน ค่าอาหาร, อุปกรณ์การศึกษา เป็นต้น การรับบริจาคเพื่อสนับสนุนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จากผู้มีจิตศรัทธา โดยมีวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ดําเนินการหลัก 

       ๔. อาคารสถานที่พักสามเณรและโรงเรียนได้รับการอนุเคราะห์ที่พักและอาคารบ้านดิน ซึ่งเป็นรีสอร์ทจากสวนลีลาวดี กําหนด 5 ปี ทั้งนี้สวนลีลาวดีได้อนุเคราะห์ก่อสร้างและบริจาคที่ พักชั่วคราวและโรงเรียนชั่วคราว มอบให้ใช้ตลอดมาตั้งแต่ต้น 

       ๕. ได้รับการบริจาคก่อสร้างอาคารหอฉันมูลค่า ประมาณ ๒๐ ล้านบาท โดยธนาคาร ออมสินและผู้มีจิตศรัทธาอื่นๆ ดําเนินโดยวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก (ดําเนินการก่อสร้างได้ ๔๐% แล้ว)

       ๖. ได้รับการบริจาคก่อสร้างเจดีย์ วิหาร ลานธรรม และกุฏิกรรมฐานหลวงปู่เสาร์ โดย สวนลีลาวดี และวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก 

       ๗. ได้รับการสนับสนุน งบประมาณแผ่นดิน เพื่อก่อสร้างอาคารที่พักสามเณรและอาคาร เรียน ๒ หลัง รวมงบก่อสร้างประมาณ ๑๒๐ ล้านบาท (แก้ไขแล้วจาก ๑๖๐ ล้านบาทในที่ ประชุมสภาวิชาการ ๒๐-๐๑-๒๕๕๕) โดยการจัดตั้งของบประมาณของมหาวิทยาลัยมหามกุฏ ราชวิทยาลัย 

       ๘. ได้รับการบริจาคหุ้นปูนซีเมนต์ไทย ประมาณ ๒๐ ล้านบาท โดยใช้ดอกผลในการ บริหารจัดการศึกษา จากคุณหญิงลมุนศรี โกศิน 

       ๙. ได้รับความอนุเคราะห์คณาจารย์บรรพชิตจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน วัดเทพลีลา พระราม ๙ กาญจนาภิเษก วัดบวรนิเวศวิหาร และ วัดอาวุธวิกสิตา ราม เป็นต้น และอาจารย์คฤหัสถ์ มีทั้งอาจารย์อาสาสมัครและอาจารย์อัตราจ้าง 

       ๑๐. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณรายหัวนักเรียนประจําปีทุกปี จากโรงเรียนศรีจันทร์ วิทยา วัดศรีสุทธาวาส จังหวัดเลย

       ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๕๔) โครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราช วิทยาลัย ได้ดําเนินการมาใกล้ครบ ๓ ปีเต็มแล้ว มีการเรียนการสอนนักธรรม-บาลีและการเรียน การสอนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๑-๓ รวมมีสามเณรนักเรียน จํานวน ๔๘ รูป มีคณาจารย์ บรรพชิต จํานวน ๔ รูป คณาจารย์คฤหัสถ์ จํานวน ๑๔ คน ทั้งนี้ อธิการบดีมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น และวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นผู้ประสานงาน ดําเนินการบริหารและจัดการศึกษามาโดยลําดับ

       บัดนี้ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีความพร้อมทุกด้านแล้ว เห็นสมควรนําเสนอสภาวิชาการพิจารณาเสนอตามอํานาจ มาตรา ๒๒ (๓) ต่อสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อดําเนินการจัดตั้งเป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยต่อไป” (อ้างอิงใน บันทึกข้อความ ที่ ศธ ๖๐๑๒/๐๑๑๙ วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๕ เรื่อง พิจารณา จัดตั้งโรงเรียนสาธิตมมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถึงเลขานุการสภาวิชาการ ลงนามโดยพระครูปลัดธรรมจริยวัฒน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน)

       ปี พ.ศ.๒๕๕๕ เป็นต้นมาทางมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทางมหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้คณะศึกษาศาสตร์ โดยพระมหาฉัตรชัย สุฉตตชโย หัวหน้าภาคการศึกษาในขณะนั้น เป็นผู้ประสานงานระหว่าง มหาวิทยาลัยส่วนกลาง มมร.วิทยาเขตอีสาน และโรงเรียนสาธิตฯ และมีบทบาทช่วยผลักดันด้านแผนและงบประมาณต่าง ๆ เพื่อให้การดําเนินงานโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นไปตามลําดับ

       เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๖ ได้มี “มติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย ครั้งที่ ๑/ ๒๕๕๖ มติที่ ๑๑/๒๕๕๖ เรื่อง จัดตั้ง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย” โดย มติที่ประชุม เห็นชอบ และให้จัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ให้มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ และมีประกาศมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เรื่องการแบ่งส่วนงาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๖ ประกาศให้โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัย มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา ลงนามโดยสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ให้ประกาศการแบ่งส่วนงานโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

       บังคับใช้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ทั้งนี้ ประกาศมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เรื่องการแบ่งส่วนงาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๖ นั้น สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดําเนินการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่มที่ ๓๓๐ ตอนพิเศษ ๑๖๐ งวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ หน้าที่ ๒๙

       เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ คุณสุกัญญา ตรีสวัสดิ์ ผู้อุปถัมภ์ ซึ่งได้บริจาคที่ดินจํานวน ๒๔ ไร่ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดโดยตั้งชื่อวัดว่า “วัดตรีสวัสดิ์วนาราม” เพื่อถวายแด่คณะสงฆ์ ผู้บริหารโรงเรียนสาธิตฯ และคณะสงฆ์อําเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และเพื่อเป็นที่รองรับจํานวน พระภิกษุสามเณรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้งนี้ คุณสุกัญญา ตรีสวัสดิ์ ได้บริจาคทรัพย์ส่วนตัวก่อสร้างอุโบสถ และกุฏิที่พักพระภิกษุสามเณร ไว้ให้ทั้งหมด สิ้นงบประมาณกว่า ๔๐ ล้าน บาท โดยการผลักดันและดําเนินการของพระครูปลัดณัฐพงษ์ ยโส เลขานุการเจ้าคณะ ภาค ๔ อาจารย์ประจํา คณะสังคมศาสตร์ มมร ในขณะนั้น (ปัจจุบัน : พระครู ปลัดสุวัฑฒนพรหมจริยคุณ รองอธิการบดี มมร) กาลต่อมา วัดตรีสวัสดิ์วนาราม จึงได้รับพระราชวิสุงคามสีมา ในวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๘

วัดตรีสวัสดิ์วนาราม

       เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ บุคลากรโรงเรียนสาธิตฯ บางส่วนได้รับการแต่งตั้งให้เป็น บุคลากรอัตราจ้างของคณะศึกษาศาสตร์ นับเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราช วิทยาลัย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ได้มีพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดย เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต นับเป็น อาคารเรียนจากงบประมาณแผ่นดินหลังแรก พร้อมสร้างหอพักสามเณรขึ้นอีก ๒ หลังเพื่อ รองรับจํานวนสามเณรที่เพิ่มมากขึ้นตามลําดับ

       เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘ พระราชบัณฑิต (ปัจจุบัน : พระเทพบัณฑิต) รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้มีหนังสือ ศธ ๖๐๐๑/๓๗๑ ขอความ อนุเคราะห์สํานักงานคณะกรรมการ อุดมศึกษาเพื่อออกรหัสสถานศึกษา ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย สําหรับใช้ในการส่งข้อมูลของสถานศึกษาให้กับสํานักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา และในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘ สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้แจ้ง การออกรหัสสถานศึกษาของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สําหรับใช้ในการส่งข้อมูลของสถานศึกษาให้กับสํานักงานฯ ได้รหัสที่ “๑๔๔๒๐๕๑๑๐๑ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย” และต่อมาอธิการบดีได้แต่งตั้งพระครูปลัดธรรมจริยวัฒน์ ดร. เป็นรักษาการผู้อํานวยการมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อบริหารงานต่อไป

       ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๘ - ปัจจุบัน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้จัด ให้มีพิธีบรรพชาสามเณรที่วัดตรีสวัสดิ์วนาราม อําเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ด้วยงบประมาณของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และการอุปถัมภ์ของคุณสุกัญญา ตรีสวัสดิ์ (เว้น ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ บรรพชาที่วัดป่าแสงอรุณ จังหวัดขอนแก่น)

        โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตําบลโพนสูง อําเภอด่านซ้าย จังหวัด เลย ได้ดําเนินการจัดการเรียนการสอนภายใต้ห้องเรียนของโรงเรียนศรีจันทร์วิทยา วัดศรีสุทธาวาส พระอารามหลวง อําเภอเมือง จังหวัดเลย มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๕๒ จนถึง เดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ปัจจุบัน กําลัง ดําเนินการโอนย้ายสามเณรนักเรียนทั้งหมดจากโรงเรียนศรีจันทร์วิทยา เข้าสังกัดในโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ภายในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ นี้

        การดําเนินการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งโรงเรียน จนถึง ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้พระมหาสาคร ชิงตงกโร (ปัจจุบัน : พระครูสุธีจริยวัฒน์, ผศ.ดร.) เป็นผู้ดูแลด้านการจัดการเรียนการสอนร่วมกับพระศรีญาณโสภณ (ปัจจุบัน พระราชญาณกวี) และประสานงาน การจัดการศึกษากับโรงเรียนศรีจันทร์วิทยา มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ เป็นต้นมา ซึ่งต่อมาเมื่ออธิการบดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้รับมอบถวายที่ดินเป็นที่ดินของมหาวิทยาลัยเรียบร้อยแล้ว จึงได้แต่งตั้งให้ พระมหาสาคร ชิตงกโร (ปัจจุบัน พระครูสุธีจริยวัฒน์, ผศ.ดร.) เป็นรักษาการ ผู้อํานวยการโรงเรียน ภายใต้การกํากับของคณะศึกษาศาสตร์ โดยมีคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ รวม ๓ รูป ตามลําดับ คือ พระมหาสมัคร มหาวีโร พระปริยัติสารเวที ดร. และพระมหาฉัตรชัย สุฉตตชโย, ผศ.ดร. พอถึงปี พ.ศ.๒๕๖๑ พระครูสุธีจริยวัฒน์ ผศ.ดร. ได้ลาออกจากรักษาการ ผู้อํานวยการโรงเรียนสาธิตฯ ต่อมาคณะศึกษาศาสตร์จึงได้เสนอแต่งตั้งให้ พระมหาวิเชียร ธมฺมวชิโร ดร. เป็นรักษาการผู้อํานวยการโรงเรียน ตั้งแต่ ปี ๑ เมษายน ๒๕๖๑ - ๓๐ เมษายน ๒๕๖๓  

        เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ เป็นต้นมา ศิษย์เก่าโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฎราช วิทยาลัย รุ่นที่ ๑ จํานวน ๓ รูป ได้รับแต่งตั้งเป็นบุคลากรอัตราจ้างตําแหน่งครูผู้สอนโรงเรียน สาธิตฯ สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 

        เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ โดย พระราชปฏิภาณโกศล, ผศ.ดร. (ปัจจุบัน : พระเทพ วัชรเมธี ผศ.ดร.) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย รูปปัจจุบัน ได้แต่งตั้งให้พระครู สุธีจริยวัฒน์, ผศ.ดร. เป็นรักษาการผู้อํานวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยอีกครั้ง เพื่อบริหารงานการจัดการศึกษาของโรงเรียนสาธิตฯ ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป 

      ปี พ.ศ.๒๕๖๓ พระมหาณัฐพล ปญญาพโล ศิษย์เก่า รุ่นที่ ๑ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย วัดตรีสวัสดิ์วนาราม สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค รูปที่ ๑ (ปัจจุบัน เป็นครูสอนโรงเรียนสาธิต มมร) 

        ปี พ.ศ.๒๕๖๔ พระมหาอาจินต์ อริญชโย ศิษย์เก่ารุ่นที่ ๑ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย วัดตรีสวัสดิ์วนาราม สอบได้ เปรียญธรรม ๙ ประโยค รูปที่ ๒ (ปัจจุบัน เป็นครูสอนโรงเรียนสาธิต มมร) 

        เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ ได้มีพิธีบรรพชาสามเณรโครงการบรรพชาพุทธศาสน ทายาท ในพระสังฆราชูปถัมภ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปี ๒๕๑๔ จํานวน ๓๕ รูป โดย พระธรรมดิลก (สมาน สุเมโธ ป.ธ.๙) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙ (ธ) เป็น อุปัชฌาย์ มีพระเทพวัชรเมธี, ผศ.ดร. สมคิด จินตามโย) อธิการบดี มมร เป็นประธาน ดําเนินการและอุปถัมภ์การดําเนินการทั้งหมด หลังจากพิธีบรรพชาสามเณรเสร็จสิ้นเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว เวลา ๑๑.๐๐ น. คุณสุกัญญา ตรีสวัสดิ์ ได้มีจิตศรัทธามอบถวายที่ดินจํานวน ๕๐ ไร่ ๑ งาน ๔๖ ตารางวา แด่ พระเทพวัชรเมธี, ผศ.ดร. อธิการบดี มมร ท่ามกลางคณะ สงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาและสาธุชนร่วมอนุโมทนา เพื่อเพิ่มเติมให้ติดต่อกับที่ดินแปลงเดิมที่มอบ ถวายก่อนแล้วอีก เพื่อให้เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนหลักธรรมคําสอนในทางพระพุทธศาสนาและ ปลูกฝังอบรมสืบทอดพุทธศาสนทายาทสืบไป 

        ปัจจุบัน ปี ๒๕๖๔ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีคณะครูสอนและ บุคลากร จํานวน ๑๔ รูป/คน มีสามเณรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ และศึกษาเล่าเรียน บาลีและนักธรรม จํานวน ๗๘ รูป ดําเนินการภายใต้การกํากับดูแลของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีพระมหาบุญนา ฐานวีโร, ผศ.ดร. เป็นคณบดี โดยมี พระเทพวัชรเมธี, ผศ.ดร. สมคิด จินตามโย) เป็นอธิการบดี ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย 

คุณสุกัญญา ตรีสวัสดิ์ ได้มีจิตศรัทธามอบถวายที่ดินจํานวน ๕๐ ไร่ ๑ งาน ๔๖ ตารางวา แด่ พระเทพวัชรเมธี, ผศ.ดร. อธิการบดี มมร